บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบคำประพันธ์ ชุดที่ 4


ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

อุรารานร้าวแยก
ยลสยบ
เอนพระองค์ลงทบ
ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ
สังเวช
วายชีวาตม์สุดสิ้น
สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

ข้อที่  1.  คำประพันธ์ข้างต้น เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
ก.  กาพย์
ข.  ร่าย
ค.  โคลง
ง.  ฉันท์

ข้อที่  2.  เนื้อความของคำประพันธ์ กล่าวถึงอะไร
ก.  การต่อสู้
ข.  การสิ้นชีวิต
ค.  การขึ้นสวรรค์
ง.  ความผิดหวัง

ข้อที่  3.  เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นที่ใด
ก.  บนหลงม้า
ข.  บนหลังช้าง
ค.  บนสวรรค์
ง.  ในป่า

ข้อที่  4.  ตัวเอกของบทประพันธ์ตอนนี้ ควรเป็นข้อใด
ก.  เทวดา
ข.  คน
ค.  ช้าง
ง.  ม้า

ข้อที่  5.  คำประพันธ์ตอนนี้ ดีอย่างไร
ก.  สามารถบรรยายให้เห็นจริง
ข.  สำนวนโวหาร
ค.  ดีในกระบวนอุปมาอุปไมย
ง.  บทสนทนาไพเราะ

เฉลย

อุรารานร้าวแยก
ยลสยบ
เอนพระองค์ลงทบ
ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ
สังเวช
วายชีวาตม์สุดสิ้น
สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

ข้อสอบข้อนี้ ถ้ารู้ที่มาของโคลงดังกล่าวก็จะทำให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น  โคลงของโจทย์นั้นอยู่ในลิลิตเตลงพ่าย


เป็นเหตุการณ์ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชาทำยุทธหัตถีและทรงได้รับชัยชนะ โดยทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดคาคอช้าง

ข้อที่  1.  คำประพันธ์ข้างต้น เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
ก.  กาพย์
ข.  ร่าย
ค.  โคลง
ง.  ฉันท์

วิเคราะห์

ลิลิตเตลงพ่ายเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท
คำประพันธ์ที่ยกมาเป็นโคลงสี่สุภาพ ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  2.  เนื้อความของคำประพันธ์ กล่าวถึงอะไร
ก.  การต่อสู้
ข.  การสิ้นชีวิต
ค.  การขึ้นสวรรค์
ง.  ความผิดหวัง

วิเคราะห์

คำประพันธ์ที่ยกมาเป็นการบรรยายการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชของพม่า โดยพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นที่ใด
ก.  บนหลงม้า
ข.  บนหลังช้าง
ค.  บนสวรรค์
ง.  ในป่า

วิเคราะห์

“คช” แปลว่า “ช้าง”
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  ตัวเอกของบทประพันธ์ตอนนี้ ควรเป็นข้อใด
ก.  เทวดา
ข.  คน
ค.  ช้าง
ง.  ม้า

วิเคราะห์

ตัวเอกในคำประพันธ์ดังกล่าวคือ พระมหาอุปราชของพม่า
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  5.  คำประพันธ์ตอนนี้ ดีอย่างไร
ก.  สามารถบรรยายให้เห็นจริง
ข.  สำนวนโวหาร
ค.  ดีในกระบวนอุปมาอุปไมย
ง.  บทสนทนาไพเราะ

วิเคราะห์

ข้อนี้ ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง




ข้อสอบคำประพันธ์ ชุดที่ 3

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใด เป็นสัมผัสบังคับในการแต่งคำประพันธ์
ก.  สัมผัสสระ
ข.  สัมผัสพยัญชนะ
ค.  สัมผัสระหว่างวรรค
ง.  สัมผัสภายในวรรค
จ.  ข้อ ค และ ข้อ ง

ข้อที่  2.  อะไรเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของร้อยกรอง
ก.  สัมผัส
ข.  วรรคตอน
ค.  จำนวนคำ
ง.  ความไพเราะ
จ.  เอก  โท  และ ครุ ลหุ

ข้อที่  3.  กาพย์กับฉันท์ต่างกันในประการใดเป็นสำคัญ
ก.  คณะต่างกัน
ข.  สัมผัสต่างกัน
ค.  ฉันท์บังคับ ครุ ลหุ กาพย์ไม่บังคับ
ง.  กาพย์บังคับคำเป็นคำตาย ฉันท์ไม่บังคับ
จ.  กาพย์บังคับเสียงวรรณยุกต์ ฉันท์ไม่บังคับ

ข้อที่  4.  ข้อความด้านล่างนี้ มีกี่คำกลอน

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ครั้นยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
ร่ำพิไลรัญจวนหวนละห้อย
ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย
น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

ก.  1  คำกลอน
ข.  2  คำกลอน
ค.  3  คำกลอน
ง.  4  คำกลอน
จ.  8  คำกลอน

ข้อที่  5.  “เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว” ข้อความดังกล่าว แสดงถึงอะไร
ก.  แสดงความนิยม
ข.  ชมด้วยกวีโวหาร
ค.  แสดงจินตนาการของผู้แต่ง
ง.  กล่าวถึงสตรีในอุดมคติ
จ.  กล่าวถึงความเป็นกุลสตรี

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใด เป็นสัมผัสบังคับในการแต่งคำประพันธ์
ก.  สัมผัสสระ
ข.  สัมผัสพยัญชนะ
ค.  สัมผัสระหว่างวรรค
ง.  สัมผัสภายในวรรค
จ.  ข้อ ค และ ข้อ ง

วิเคราะห์

ข้อ จ. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ลักษณะบังคับสัมผัส หรือ สัมผัสบังคับมี 2 ชนิดคือ สัมผัสนอก กับ สัมผัสใน  สัมผัสระหว่างวรรคในข้อ ค. คือ สัมผัสนอก ส่วนข้อ ง. ก็เป็นสัมผัสใน

ข้อที่  2.  อะไรเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของร้อยกรอง
ก.  สัมผัส
ข.  วรรคตอน
ค.  จำนวนคำ
ง.  ความไพเราะ
จ.  เอก  โท  และ ครุ ลหุ

วิเคราะห์

คำว่า “ร้อยกรอง” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ร้อยกรอง ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ;
ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย;
แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
ดังนั้น ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  กาพย์กับฉันท์ต่างกันในประการใดเป็นสำคัญ
ก.  คณะต่างกัน
ข.  สัมผัสต่างกัน
ค.  ฉันท์บังคับ ครุ ลหุ กาพย์ไม่บังคับ
ง.  กาพย์บังคับคำเป็นคำตาย ฉันท์ไม่บังคับ
จ.  กาพย์บังคับเสียงวรรณยุกต์ ฉันท์ไม่บังคับ

วิเคราะห์
ดูตัวอย่างของกาพย์ยานี 11 กับ อินทรวิเชียรฉันท์ 11


ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  ข้อความด้านล่างนี้ มีกี่คำกลอน

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ครั้นยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
ร่ำพิไลรัญจวนหวนละห้อย
ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย
น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

ก.  1  คำกลอน
ข.  2  คำกลอน
ค.  3  คำกลอน
ง.  4  คำกลอน
จ.  8  คำกลอน

วิเคราะห์

ดูแผนผังกลอนแปดหรือกลอนสุภาพด้านล่าง


ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  5.  “เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว” ข้อความดังกล่าว แสดงถึงอะไร
ก.  แสดงความนิยม
ข.  ชมด้วยกวีโวหาร
ค.  แสดงจินตนาการของผู้แต่ง
ง.  กล่าวถึงสตรีในอุดมคติ
จ.  กล่าวถึงความเป็นกุลสตรี

วิเคราะห์


ข้อนี้ ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง