บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบคำประพันธ์ ชุดที่ 3

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใด เป็นสัมผัสบังคับในการแต่งคำประพันธ์
ก.  สัมผัสสระ
ข.  สัมผัสพยัญชนะ
ค.  สัมผัสระหว่างวรรค
ง.  สัมผัสภายในวรรค
จ.  ข้อ ค และ ข้อ ง

ข้อที่  2.  อะไรเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของร้อยกรอง
ก.  สัมผัส
ข.  วรรคตอน
ค.  จำนวนคำ
ง.  ความไพเราะ
จ.  เอก  โท  และ ครุ ลหุ

ข้อที่  3.  กาพย์กับฉันท์ต่างกันในประการใดเป็นสำคัญ
ก.  คณะต่างกัน
ข.  สัมผัสต่างกัน
ค.  ฉันท์บังคับ ครุ ลหุ กาพย์ไม่บังคับ
ง.  กาพย์บังคับคำเป็นคำตาย ฉันท์ไม่บังคับ
จ.  กาพย์บังคับเสียงวรรณยุกต์ ฉันท์ไม่บังคับ

ข้อที่  4.  ข้อความด้านล่างนี้ มีกี่คำกลอน

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ครั้นยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
ร่ำพิไลรัญจวนหวนละห้อย
ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย
น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

ก.  1  คำกลอน
ข.  2  คำกลอน
ค.  3  คำกลอน
ง.  4  คำกลอน
จ.  8  คำกลอน

ข้อที่  5.  “เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว” ข้อความดังกล่าว แสดงถึงอะไร
ก.  แสดงความนิยม
ข.  ชมด้วยกวีโวหาร
ค.  แสดงจินตนาการของผู้แต่ง
ง.  กล่าวถึงสตรีในอุดมคติ
จ.  กล่าวถึงความเป็นกุลสตรี

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใด เป็นสัมผัสบังคับในการแต่งคำประพันธ์
ก.  สัมผัสสระ
ข.  สัมผัสพยัญชนะ
ค.  สัมผัสระหว่างวรรค
ง.  สัมผัสภายในวรรค
จ.  ข้อ ค และ ข้อ ง

วิเคราะห์

ข้อ จ. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ลักษณะบังคับสัมผัส หรือ สัมผัสบังคับมี 2 ชนิดคือ สัมผัสนอก กับ สัมผัสใน  สัมผัสระหว่างวรรคในข้อ ค. คือ สัมผัสนอก ส่วนข้อ ง. ก็เป็นสัมผัสใน

ข้อที่  2.  อะไรเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของร้อยกรอง
ก.  สัมผัส
ข.  วรรคตอน
ค.  จำนวนคำ
ง.  ความไพเราะ
จ.  เอก  โท  และ ครุ ลหุ

วิเคราะห์

คำว่า “ร้อยกรอง” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ร้อยกรอง ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ;
ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย;
แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
ดังนั้น ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  กาพย์กับฉันท์ต่างกันในประการใดเป็นสำคัญ
ก.  คณะต่างกัน
ข.  สัมผัสต่างกัน
ค.  ฉันท์บังคับ ครุ ลหุ กาพย์ไม่บังคับ
ง.  กาพย์บังคับคำเป็นคำตาย ฉันท์ไม่บังคับ
จ.  กาพย์บังคับเสียงวรรณยุกต์ ฉันท์ไม่บังคับ

วิเคราะห์
ดูตัวอย่างของกาพย์ยานี 11 กับ อินทรวิเชียรฉันท์ 11


ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  ข้อความด้านล่างนี้ มีกี่คำกลอน

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ครั้นยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
ร่ำพิไลรัญจวนหวนละห้อย
ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย
น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

ก.  1  คำกลอน
ข.  2  คำกลอน
ค.  3  คำกลอน
ง.  4  คำกลอน
จ.  8  คำกลอน

วิเคราะห์

ดูแผนผังกลอนแปดหรือกลอนสุภาพด้านล่าง


ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  5.  “เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว” ข้อความดังกล่าว แสดงถึงอะไร
ก.  แสดงความนิยม
ข.  ชมด้วยกวีโวหาร
ค.  แสดงจินตนาการของผู้แต่ง
ง.  กล่าวถึงสตรีในอุดมคติ
จ.  กล่าวถึงความเป็นกุลสตรี

วิเคราะห์


ข้อนี้ ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง



1 ความคิดเห็น: